วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ตัวอย่างบทความ

ระบบการประเมินครูและบุคลากรทางการศึกษา

1. ข้อมูลทั่วไป จากผลแห่งบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่จะนำสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการจัดการศึกษาของไทย โดยเน้นการปฏิรูปการเรียนรู้ของสังคมไทย เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ กำหนดแนวทางการปฏิรูปการศึกษาด้านต่าง ๆ เช่น การปฏิรูประบบบริหารและการจัดการศึกษา การปฏิรูปครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี เป็นต้น ในส่วนของการบริหารงานบุคคล ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กำหนดให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งของหน่วยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาของรัฐ และระดับเขตพื้นที่การศึกษาเป็นข้าราชการในสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยยึดหลักการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลสู่เขตพื้นที่การศึกษา (มาตรา 54) และให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น เพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอและเหมาะสมกับฐานะทางสังคมและวิชาชีพ (มาตรา 55) นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับครู และบุคลากรทาง การศึกษาที่กำหนดให้กระทรวงจัดระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง การจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (มาตรา 52) ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู (มาตรา 53) ทั้งนี้ต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พ.ร.บ.ครู พ.ศ. 2488 และ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี (ภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2545) ปัจจุบันองค์กรที่ทำหน้าที่บริหารงานบุคคลของข้าราชการครู ได้แก่ คณะกรรมการ ข้าราชการครู (ก.ค.) มีสำนักงาน ก.ค. ที่เป็นส่วนราชการฐานะเทียบเท่ากรมทำหน้าที่บริหารและจัดการ รวมทั้งดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2538 สำนักงาน ก.ค. ได้ตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2523 นับจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 20 ปี โดยอำนาจหน้าที่ของ ก.ค. จะทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูในกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีอำนาจหน้าที่หลักในการกำหนดระบบวิธีการบริหารงานบุคคล ให้หน่วยงานทางการศึกษาปฏิบัติ และควบคุมกำกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย และระบบวิธีการที่ ก.ค. กำหนด จึงอาจกล่าวได้ว่า ก.ค. ดำเนินการโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ เพื่อส่งเสริม ควบคุม กำกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู ให้มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก.ค. จะเป็นผู้วางระบบทางก้าวหน้าทั้งด้านเงินเดือน และตำแหน่งของข้าราชการครู ซึ่ง ก.ค.ได้กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการ รวมทั้งแนวการประเมินเพื่อกำหนด และแต่งตั้งข้าราชการครูในสายงานต่าง ๆ โดยเน้นการพิจารณาความชำนาญการ ความเชี่ยวชาญ หรือความเชี่ยวชาญพิเศษ และผลงานทางวิชาการที่ปรากฏทั้งในด้านคุณภาพ และประโยชน์ของผลงานทางวิชาการตามระดับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง จากการดำเนินงานในระยะที่ผ่านมา ทำให้ข้าราชการครูจำนวนมาก มีความก้าวหน้าทางตำแหน่งและเงินเดือนมากขึ้นโดยลำดับ แต่ก็มีข้อสงสัยจากสาธารณชนทั่วไปว่าความก้าวหน้าของครู สอดคล้องกับคุณภาพการศึกษาหรือไม่ และระบบการประเมินใช้วิธีการที่เน้นประเมินจากสภาพที่เป็นจริงหรือยัง (Authentic Assessment) นอกจากนี้ครูที่ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งที่สูงขึ้น ได้รับการยอมรับใน ความเชี่ยวชาญหรือเชี่ยวชาญพิเศษมากน้อยเพียงใด ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนมากน้อยเพียงใด และที่สำคัญคือคุ้มกับค่าใช้จ่ายภาครัฐด้านบุคคล ที่ต้องจ่ายให้กับครูที่มีผลงานทางวิชาการและมีตำแหน่งที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ สิ่งเหล่านี้จะต้องมีคำอธิบายและมีความชัดเจน เพื่อสร้างความมั่นใจและเชื่อมั่นในระบบการบริหารงานบุคคลตามแนวทางของการปฏิรูปการศึกษา

2. บทวิเคราะห์ 2.1 ระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนดให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคล โดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาของรัฐ และระดับเขตพื้นที่การศึกษาเป็นข้าราชการในสังกัด และยึดหลักการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาตามมาตรา 54 และมาตรา 39 องค์กรกลางดังกล่าวอาจเรียกว่า คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อำนาจหน้าที่จะคล้ายกับ ก.ค.ปัจจุบัน แต่ดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของกระทรวงใหม่ ในส่วนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมีโครงสร้างของคณะกรรมการและอำนาจหน้าที่ที่สอดคล้องกับโครงสร้างการบริหารงานของกระทรวงใหม่ ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และเน้นการกระจายอำนาจไปยังอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา คณะกรรมการฯ ส่วนกลางจะทำหน้าที่เกี่ยวกับการเสนอแนะนโยบาย การวางแผนกำลังคน การออกกฎข้อบังคับ หรือระเบียบต่าง ๆ และการตรวจสอบ กำกับ ดูแล การดำเนินงานของอนุกรรมการฯ ประจำเขตพื้นที่ ให้เป็นไปตามนโยบาย แผนและกฎระเบียบที่กำหนด แนวโน้มขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่เปลี่ยนไปจาก ก.ค. เดิม ก็คือ โครงสร้างการบริหารงานและคณะกรรมการ ซึ่งจะเป็นองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา เป็นหน่วยงานหนึ่งของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการ วินัย และประสานส่งเสริมวิชาการด้านการบริหารงานบุคคล รวมทั้งการประสานและส่งเสริมการดำเนินงาน ของอนุกรรมการฯ ประจำเขตพื้นที่ด้วย อย่างไรก็ตามกระทรวงศึกษาธิการ โดย ก.ค. ก็มีข้อเสนอที่จะยังคงสำนักงาน ก.ค. ไว้เป็นหน่วยงานระดับกรมเช่นเดิม แต่มีการกระจายอำนาจไปยังคณะกรรมการ ก.ค. ประจำเขตพื้นที่การศึกษา ผลสรุปจะเป็นเช่นใด ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมคิดบนพื้นฐานของเหตุและผลที่จะส่งผลต่อคุณภาพของการศึกษาเป็นสำคัญ 2.4 ระบบการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษา การประเมินครูในอดีตที่ผ่านมา ก.ค. มุ่งเน้นการประเมินเพื่อการกำหนด และการปรับปรุงตำแหน่ง โดยมีนโยบายการพัฒนาครู และพัฒนาระบบหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารงานบุคคล เพื่อมุ่งสู่การยกระดับมาตรฐานข้าราชการครู เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษามาโดยลำดับ และมีความพยายามที่จะนำวิธีการประเมินที่เน้นระดับคุณภาพของครู (NTQ : National Teacher Qualification) ระดับคุณภาพของผู้บริหาร (EMQ : Educational Manager Qualification) และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาก็ได้พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู และเกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษาของคุรุสภา พ.ศ. 2540 เพื่อนำมาใช้ให้เกิดผลอย่างจริงจัง และเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แล้ว ได้นำแนวทางดังกล่าวมาใช้เป็นข้อมูลที่จะปรับปรุงกฎหมายตามมาตรา 54 และมาตรา 73 ซึ่งจะส่งผลให้มีการปรับปรุงระบบการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษาให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา และเป็นไปตามแนวทางการปฏิรูประบบบริหารภาครัฐของ ก.พ. ด้วย สาระที่เกี่ยวข้องกับการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้ 1. ครู และบุคลากรทางการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง และเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้ต้องผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด 2. มีองค์กรวิชาชีพที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณของวิชาชีพ และพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา 3. จัดระบบกระบวนการผลิต การพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง 4. จัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยรัฐจัดสรรงบประมาณให้อย่างเพียงพอ 5. การกำหนดเงินเดือนและค่าตอบแทน สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งต้องมีระบบการประเมินตามระดับคุณภาพของครู และบุคลากรทางการศึกษาที่กำหนด 6. การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด และจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเหมาะสม และเต็มตามศักยภาพของผู้เรียน 7. เส้นทางความก้าวหน้าของครู จะเน้นระดับคุณภาพ 4 ระดับ ได้แก่ ครูปฏิบัติการ ครูชำนาญการ ครูเชี่ยวชาญ และครูเชี่ยวชาญพิเศษ ทั้งนี้จะต้องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเพื่อกำหนดและแต่งตั้งข้าราชการครู ให้สอดคล้องกับระดับคุณภาพที่กำหนด 8. แนวทางการปฏิรูประบบบริหารภาครัฐของ ก.พ. เน้นการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (ResulBased Management : RBM) ซึ่งมีระบบการประเมินบุคคลโดยยึดความสามารถเป็นหลัก (Competency Based) และประเมินจากสภาพการปฏิบัติงานจริง (Authentic Assessment) สอดคล้องกับแนวทางการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษาที่จะกำหนดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ สาระที่กล่าวมาข้างต้น จะนำมาสู่แนวทางการจัดระบบการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยมุ่งหวังว่าจะเป็นระบบที่จะช่วยพัฒนาการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู ให้มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง มีระดับคุณภาพที่เป็นมืออาชีพ สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

3. ข้อเสนอระบบการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษา จากการวิเคราะห์แนวทางการจัดระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู และสาระที่เกี่ยวข้องกับการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษาแล้ว สามารถนำมากำหนดเป็นระบบการประเมิน เพื่อเป็นข้อเสนอให้วิพากษ์ ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้ 3.1 หลักการ 3.2 โครงสร้าง 3.3 องค์ประกอบ 3.4 หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมิน 3.5 แนวทางการประเมิน 3.6 เงื่อนไขความสำเร็จ มีรายละเอียดที่จะนำเสนอ ดังนี้ ระบบการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษา 1. หลักการ 1.1 เน้นการประเมินเพื่อประกันคุณภาพตามมาตรฐาน และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ 1.2 เป็นการประเมินเพื่อจัดระดับตำแหน่งตามระดับคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาอื่น 1.3 การประเมินต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาศักยภาพของครู และบุคลากรทางการศึกษา 1.4 ผลการประเมินนำไปสู่การกำหนดตำแหน่ง เงินเดือน และค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับฐานะทางสัง คม และวิชาชีพ 1.5 ยึดหลักการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1.6 เน้นการประเมินจากผลงาน และสภาพที่แท้จริง โปร่งใสและตรวจสอบได้ 1.7 เน้นการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. โครงสร้าง ประกอบด้วยองค์กรที่ทำหน้าที่ประเมิน 4 ส่วน คือ 2.1 คณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (ก.ศ.) ทำหน้าที่หลัก 4 ประการ คือ เสนอแนะนโยบายและแผนการพัฒนาระบบการประเมิน กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน กำกับ ติดตามการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ ประจำเขตพื้นที่การศึกษา และการวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อนำมาจัดทำข้อเสนอนโยบายและการจัดทำแผนการพัฒนาระบบการประเมิน 2.2 คณะอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ศ.) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษา 4 ประการ คือ แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษาประเภทต่าง ๆ ให้ความเห็นชอบผลการประเมินของคณะกรรมการฯ จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญประจำเขตพื้นที่ การศึกษาเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินครู(รายบุคคล) ประมวลผลการประเมินเพื่อจัดทำรายงานประจำปี ต่อคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา 2.3 คณะอนุกรรมการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษา มีหน้าที่ประเมินครูและบุคลากรทางการศึกษาประเภทต่างๆ รายบุคคล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษากำหนด ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิในบัญชีรายชื่อของ อ.ก.ศ. ประจำเขตพื้นที่ ตัวแทน อ.ก.ศ. ประจำเขตพื้นที่การศึกษา และตัวแทนองค์กรวิชาชีพครู ถ้าประเมินผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วย ผู้อำนวยการฯ เขตพื้นที่การศึกษา ตัวแทนคณะอนุกรรมการ อ.ก.ศ. ประจำเขตพื้นที่การศึกษา ตัวแทนคณะกรรมการฯ เขตพื้นที่การศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิตามบัญชีรายชื่อของ อ.ก.ศ. ประจำเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งนี้จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการฯ ควรมีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของคณะกรรมการอื่น ๆ 2.4 องค์กรวิชาชีพ และผู้ปกครอง นักเรียนที่ครูนั้นสอนหรือรับผิดชอบจัดกระบวนการเรียนรู้ มีสิทธิคัดค้านผลการประเมินเพื่อส่งให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำเขตพื้นที่การศึกษาวินิจฉัยชี้ขาด
3. องค์ประกอบ ระบบการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษา ควรประกอบด้วยองค์ประกอบ ต่อไปนี้ 3.1 ผู้ประเมิน ได้แก่ คณะกรรมการประเมิน ที่ได้รับการแต่งตั้ง 3.2 ผู้ถูกประเมิน ได้แก่ ครู และบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา 3.3 เครื่องมือประเมิน ได้แก่ แบบประเมินคุณสมบัติ ประสบการณ์ (ความเชี่ยวชาญ) หลักฐานจากแฟ้มพัฒนางานของครู และผลการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร 3.4 หลักเกณฑ์และวิธีการ ได้แก่ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินครู และบุคลากรทาง การศึกษา ที่คณะกรรมการ ก.ศ. (ส่วนกลาง) กำหนด 3.5 ระดับคุณภาพ ตำแหน่งเงินเดือน และค่าตอบแทนที่จะได้รับ 3.6 การยกย่องและเชิดชูเกียรติ หรือรางวัลอื่น ๆ
4. หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน 4.1 กำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะขอรับการประเมิน โดยปรับจากหลักเกณฑ์ ก.ค. เดิม ให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ กำหนดระดับคุณภาพของครู หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่น ๆ แต่ละประเภทพร้อมทั้งตัวชี้วัดระดับคุณภาพ โดยปรับปรุงจากระดับคุณภาพครู (NTQ) ระดับคุณภาพของผู้บริหารการศึกษา (EMQ) ที่ได้ศึกษาไว้แล้ว 4.2 กำหนดวิธีการในการกำหนดตำแหน่ง และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ตามโครงสร้างใหม่ 4.3 กำหนดขั้นตอนของการขอรับการประเมินที่ชัดเจน เพื่อกระตุ้นให้ครูผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ได้มีโอกาสเข้ารับการประเมินอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม 4.4 กำหนดเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่น ตามระดับคุณภาพที่ได้รับการประเมิน ทั้งนี้ถ้าเป็นค่าตอบแทนอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน ควรมีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่จะส่งเสริมและกระตุ้นให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ควรมีคณะทำงานเพื่อดำเนินการจัดทำรายละเอียดของหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินจาก ข้อ 4.1 - 4.5 สำหรับในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายเกี่ยวกับเงินเดือนฯ พ.ร.บ. จัดตั้งกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นต้น เมื่อได้ข้อยุติหรือมีการประกาศใช้แล้วให้นำมาประกอบการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วย
5. แนวทางการประเมิน จากหลักการ โครงสร้าง องค์ประกอบ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินที่ได้นำเสนอข้างต้น การประเมินยึดแนวทางของการประเมิน ดังนี้ 5.1 ควรนำหลักฐานหรือร่องรอยของการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และสภาพท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์เป็นส่วนสำคัญของการประเมิน 5.2 ให้พิจารณาความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholder) เช่น นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา และเพื่อนร่วมทีมงาน เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพของผู้ที่ได้รับการประเมิน 5.3 พิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน สำหรับผู้ปฏิบัติงานกับกลุ่มผู้เรียนที่มีความยากง่ายของการพัฒนา เช่น กลุ่มด้อยโอกาส เด็กเร่รอน เด็กพิการ ชาวเขา ชาวเล เป็นต้น รวมทั้งสภาพภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น 5.4 คณะกรรมการประเมินที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญเฉพาะหรือมีประสบการณ์ในสาขาที่ประเมินนั้นอย่างน้อย 1 คน 5.5 หลักฐานอื่น ๆ ที่ควรนำมาประกอบการพิจารณา เช่น 1) หลักฐานที่แสดงถึงการสร้างองค์ความรู้ที่เกิดจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตามระดับคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา 2) ความสามารถที่แสดงถึงการพัฒนา แบบพิมพ์เทียบมาตรฐาน หรือภาพฉาย (Template) ของรายวิชาตามหลักสูตร 3) หลักฐานของผลงานที่สาธารณชนทั่วไป ยอมรับว่าเกิดจากความสามารถของผู้ขอรับการประเมิน 5.6 ผู้ขอประเมินต้องได้รับการพิจารณาหรือพิสูจน์แล้วว่าเป็นผู้ที่รักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ 5.7 ในระยะยาวอาจปรับเปลี่ยนให้คณะกรรมการประเมิน เป็นหน่วยงานเอกชนที่ได้รับการรับรองให้เป็นผู้ประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดก็ได้
6. เงื่อนไขความสำเร็จ จากข้อเสนอที่กล่าวมา จะสำเร็จได้ด้วยเงื่อนไขเบื้องต้น ต่อไปนี้ 6.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้มีการประกาศใช้แล้ว ตามเงื่อนไขของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 6.2 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนทุกกลุ่ม 6.3 คณะกรรมการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่คณะกรรมการครู และบุคลากรทางการศึกษาแต่งตั้งต้องได้รับการฝึกอบรมให้มีความเข้าใจในระบบ การประเมินฯ ใหม่อย่างเป็นระบบ รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบเกี่ยวกับการประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง 6.4 จัดให้มีระบบการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับคณะกรรมการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ชัดเจน 6.5 จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับระบบการประเมินแนวใหม่ 6.6 ควรกำหนดสิทธิพิเศษสำหรับการได้รับส่งเสริมสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และผลงานที่ได้รับการประเมินอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอระบบการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษานี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่จะกระตุ้นให้ทุกท่านได้มีข้อมูลเพื่อการวิพากษ์ และนำสู่ข้อเสนอที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาอย่างแท้จริง จึงขอเชิญชวนทุกท่านได้ร่วมกันสร้างพลังความคิดเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ต่อไป

บทความของคนอื่น

ระบบการประเมินครูและบุคลากรทางการศึกษา
........1. ข้อมูลทั่วไป จากผลแห่งบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่จะนำสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการจัดการศึกษาของไทย โดยเน้นการปฏิรูปการเรียนรู้ของสังคมไทย เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ กำหนดแนวทางการปฏิรูปการศึกษาด้านต่าง ๆ เช่น การปฏิรูประบบบริหารและการจัดการศึกษา การปฏิรูปครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี เป็นต้น ในส่วนของการบริหารงานบุคคล ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กำหนดให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งของหน่วยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาของรัฐ และระดับเขตพื้นที่การศึกษาเป็นข้าราชการในสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยยึดหลักการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลสู่เขตพื้นที่การศึกษา (มาตรา 54) และให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น เพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอและเหมาะสมกับฐานะทางสังคมและวิชาชีพ (มาตรา 55) นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับครู และบุคลากรทาง การศึกษาที่กำหนดให้กระทรวงจัดระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง การจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (มาตรา 52) ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู (มาตรา 53) ทั้งนี้ต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พ.ร.บ.ครู พ.ศ. 2488 และ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี (ภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2545) ปัจจุบันองค์กรที่ทำหน้าที่บริหารงานบุคคลของข้าราชการครู ได้แก่ คณะกรรมการ ข้าราชการครู (ก.ค.) มีสำนักงาน ก.ค. ที่เป็นส่วนราชการฐานะเทียบเท่ากรมทำหน้าที่บริหารและจัดการ รวมทั้งดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2538 สำนักงาน ก.ค. ได้ตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2523 นับจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 20 ปี โดยอำนาจหน้าที่ของ ก.ค. จะทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูในกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีอำนาจหน้าที่หลักในการกำหนดระบบวิธีการบริหารงานบุคคล ให้หน่วยงานทางการศึกษาปฏิบัติ และควบคุมกำกับการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย และระบบวิธีการที่ ก.ค. กำหนด จึงอาจกล่าวได้ว่า ก.ค. ดำเนินการโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ เพื่อส่งเสริม ควบคุม กำกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู ให้มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก.ค. จะเป็นผู้วางระบบทางก้าวหน้าทั้งด้านเงินเดือน และตำแหน่งของข้าราชการครู ซึ่ง ก.ค.ได้กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการ รวมทั้งแนวการประเมินเพื่อกำหนด และแต่งตั้งข้าราชการครูในสายงานต่าง ๆ โดยเน้นการพิจารณาความชำนาญการ ความเชี่ยวชาญ หรือความเชี่ยวชาญพิเศษ และผลงานทางวิชาการที่ปรากฏทั้งในด้านคุณภาพ และประโยชน์ของผลงานทางวิชาการตามระดับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง จากการดำเนินงานในระยะที่ผ่านมา ทำให้ข้าราชการครูจำนวนมาก มีความก้าวหน้าทางตำแหน่งและเงินเดือนมากขึ้นโดยลำดับ แต่ก็มีข้อสงสัยจากสาธารณชนทั่วไปว่าความก้าวหน้าของครู สอดคล้องกับคุณภาพการศึกษาหรือไม่ และระบบการประเมินใช้วิธีการที่เน้นประเมินจากสภาพที่เป็นจริงหรือยัง (Authentic Assessment) นอกจากนี้ครูที่ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งที่สูงขึ้น ได้รับการยอมรับใน ความเชี่ยวชาญหรือเชี่ยวชาญพิเศษมากน้อยเพียงใด ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนมากน้อยเพียงใด และที่สำคัญคือคุ้มกับค่าใช้จ่ายภาครัฐด้านบุคคล ที่ต้องจ่ายให้กับครูที่มีผลงานทางวิชาการและมีตำแหน่งที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ สิ่งเหล่านี้จะต้องมีคำอธิบายและมีความชัดเจน เพื่อสร้างความมั่นใจและเชื่อมั่นในระบบการบริหารงานบุคคลตามแนวทางของการปฏิรูปการศึกษา
........2. บทวิเคราะห์
........2.1 ระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนดให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคล โดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาของรัฐ และระดับเขตพื้นที่การศึกษาเป็นข้าราชการในสังกัด และยึดหลักการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาตามมาตรา 54 และมาตรา 39 องค์กรกลางดังกล่าวอาจเรียกว่า คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อำนาจหน้าที่จะคล้ายกับ ก.ค.ปัจจุบัน แต่ดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของกระทรวงใหม่ ในส่วนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมีโครงสร้างของคณะกรรมการและอำนาจหน้าที่ที่สอดคล้องกับโครงสร้างการบริหารงานของกระทรวงใหม่ ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และเน้นการกระจายอำนาจไปยังอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา คณะกรรมการฯ ส่วนกลางจะทำหน้าที่เกี่ยวกับการเสนอแนะนโยบาย การวางแผนกำลังคน การออกกฎข้อบังคับ หรือระเบียบต่าง ๆ และการตรวจสอบ กำกับ ดูแล การดำเนินงานของอนุกรรมการฯ ประจำเขตพื้นที่ ให้เป็นไปตามนโยบาย แผนและกฎระเบียบที่กำหนด แนวโน้มขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่เปลี่ยนไปจาก ก.ค. เดิม ก็คือ โครงสร้างการบริหารงานและคณะกรรมการ ซึ่งจะเป็นองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา เป็นหน่วยงานหนึ่งของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการ วินัย และประสานส่งเสริมวิชาการด้านการบริหารงานบุคคล รวมทั้งการประสานและส่งเสริมการดำเนินงาน ของอนุกรรมการฯ ประจำเขตพื้นที่ด้วย อย่างไรก็ตามกระทรวงศึกษาธิการ โดย ก.ค. ก็มีข้อเสนอที่จะยังคงสำนักงาน ก.ค. ไว้เป็นหน่วยงานระดับกรมเช่นเดิม แต่มีการกระจายอำนาจไปยังคณะกรรมการ ก.ค. ประจำเขตพื้นที่การศึกษา ผลสรุปจะเป็นเช่นใด ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมคิดบนพื้นฐานของเหตุและผลที่จะส่งผลต่อคุณภาพของการศึกษาเป็นสำคัญ
........2.2 ระบบการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษา การประเมินครูในอดีตที่ผ่านมา ก.ค. มุ่งเน้นการประเมินเพื่อการกำหนด และการปรับปรุงตำแหน่ง โดยมีนโยบายการพัฒนาครู และพัฒนาระบบหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารงานบุคคล เพื่อมุ่งสู่การยกระดับมาตรฐานข้าราชการครู เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษามาโดยลำดับ และมีความพยายามที่จะนำวิธีการประเมินที่เน้นระดับคุณภาพของครู (NTQ : National Teacher Qualification) ระดับคุณภาพของผู้บริหาร (EMQ : Educational Manager Qualification) และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาก็ได้พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู และเกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษาของคุรุสภา พ.ศ. 2540 เพื่อนำมาใช้ให้เกิดผลอย่างจริงจัง และเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แล้ว ได้นำแนวทางดังกล่าวมาใช้เป็นข้อมูลที่จะปรับปรุงกฎหมายตามมาตรา 54 และมาตรา 73 ซึ่งจะส่งผลให้มีการปรับปรุงระบบการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษาให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษา และเป็นไปตามแนวทางการปฏิรูประบบบริหารภาครัฐของ ก.พ. ด้วย สาระที่เกี่ยวข้องกับการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
........1. ครู และบุคลากรทางการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง และเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้ต้องผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
........2. มีองค์กรวิชาชีพที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณของวิชาชีพ และพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
........3. จัดระบบกระบวนการผลิต การพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
........4. จัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยรัฐจัดสรรงบประมาณให้อย่างเพียงพอ
........5. การกำหนดเงินเดือนและค่าตอบแทน สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งต้องมีระบบการประเมินตามระดับคุณภาพของครู และบุคลากรทางการศึกษาที่กำหนด
........6. การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด และจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเหมาะสม และเต็มตามศักยภาพของผู้เรียน
........7. เส้นทางความก้าวหน้าของครู จะเน้นระดับคุณภาพ 4 ระดับ ได้แก่ ครูปฏิบัติการ ครูชำนาญการ ครูเชี่ยวชาญ และครูเชี่ยวชาญพิเศษ ทั้งนี้จะต้องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเพื่อกำหนดและแต่งตั้งข้าราชการครู ให้สอดคล้องกับระดับคุณภาพที่กำหนด
........8. แนวทางการปฏิรูประบบบริหารภาครัฐของ ก.พ. เน้นการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (ResulBased Management : RBM) ซึ่งมีระบบการประเมินบุคคลโดยยึดความสามารถเป็นหลัก (Competency Based) และประเมินจากสภาพการปฏิบัติงานจริง (Authentic Assessment) สอดคล้องกับแนวทางการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษาที่จะกำหนดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ สาระที่กล่าวมาข้างต้น จะนำมาสู่แนวทางการจัดระบบการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยมุ่งหวังว่าจะเป็นระบบที่จะช่วยพัฒนาการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู ให้มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง มีระดับคุณภาพที่เป็นมืออาชีพ สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
........3. ข้อเสนอระบบการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษา จากการวิเคราะห์แนวทางการจัดระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู และสาระที่เกี่ยวข้องกับการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษาแล้ว สามารถนำมากำหนดเป็นระบบการประเมิน เพื่อเป็นข้อเสนอให้วิพากษ์ ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้
........3.1 หลักการ
........3.2 โครงสร้าง
........3.3 องค์ประกอบ
........3.4 หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมิน
........3.5 แนวทางการประเมิน
........3.6 เงื่อนไขความสำเร็จ มีรายละเอียดที่จะนำเสนอ ดังนี้
........ระบบการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษา
................1. หลักการ
.......................1.1 เน้นการประเมินเพื่อประกันคุณภาพตามมาตรฐาน และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
.......................1.2 เป็นการประเมินเพื่อจัดระดับตำแหน่งตามระดับคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาอื่น
.......................1.3 การประเมินต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาศักยภาพของครู และบุคลากรทางการศึกษา
.......................1.4 ผลการประเมินนำไปสู่การกำหนดตำแหน่ง เงินเดือน และค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับฐานะทางสัง คม และวิชาชีพ
.......................1.5 ยึดหลักการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
.......................1.6 เน้นการประเมินจากผลงาน และสภาพที่แท้จริง โปร่งใสและตรวจสอบได้
.......................1.7 เน้นการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ
..........2. โครงสร้าง ประกอบด้วยองค์กรที่ทำหน้าที่ประเมิน 4 ส่วน คือ
.................2.1 คณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (ก.ศ.) ทำหน้าที่หลัก 4 ประการ คือ เสนอแนะนโยบายและแผนการพัฒนาระบบการประเมิน กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน กำกับ ติดตามการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ ประจำเขตพื้นที่การศึกษา และการวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อนำมาจัดทำข้อเสนอนโยบายและการจัดทำแผนการพัฒนาระบบการประเมิน
................2.2 คณะอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ศ.) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษา 4 ประการ คือ แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษาประเภทต่าง ๆ ให้ความเห็นชอบผลการประเมินของคณะกรรมการฯ จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญประจำเขตพื้นที่ การศึกษาเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการประเมินครู(รายบุคคล) ประมวลผลการประเมินเพื่อจัดทำรายงานประจำปี ต่อคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา
................2.3 คณะอนุกรรมการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษา มีหน้าที่ประเมินครูและบุคลากรทางการศึกษาประเภทต่างๆ รายบุคคล ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษากำหนด ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิในบัญชีรายชื่อของ อ.ก.ศ. ประจำเขตพื้นที่ ตัวแทน อ.ก.ศ. ประจำเขตพื้นที่การศึกษา และตัวแทนองค์กรวิชาชีพครู ถ้าประเมินผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วย ผู้อำนวยการฯ เขตพื้นที่การศึกษา ตัวแทนคณะอนุกรรมการ อ.ก.ศ. ประจำเขตพื้นที่การศึกษา ตัวแทนคณะกรรมการฯ เขตพื้นที่การศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิตามบัญชีรายชื่อของ อ.ก.ศ. ประจำเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งนี้จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการฯ ควรมีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของคณะกรรมการอื่น ๆ
................2.4 องค์กรวิชาชีพ และผู้ปกครอง นักเรียนที่ครูนั้นสอนหรือรับผิดชอบจัดกระบวนการเรียนรู้ มีสิทธิคัดค้านผลการประเมินเพื่อส่งให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำเขตพื้นที่การศึกษาวินิจฉัยชี้ขาด
........3. องค์ประกอบ ระบบการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษา ควรประกอบด้วยองค์ประกอบ ต่อไปนี้
.................3.1 ผู้ประเมิน ได้แก่ คณะกรรมการประเมิน ที่ได้รับการแต่งตั้ง
.................3.2 ผู้ถูกประเมิน ได้แก่ ครู และบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
.................3.3 เครื่องมือประเมิน ได้แก่ แบบประเมินคุณสมบัติ ประสบการณ์ (ความเชี่ยวชาญ) หลักฐานจากแฟ้มพัฒนางานของครู และผลการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร
.................3.4 หลักเกณฑ์และวิธีการ ได้แก่ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินครู และบุคลากรทาง การศึกษา ที่คณะกรรมการ ก.ศ. (ส่วนกลาง) กำหนด
.................3.5 ระดับคุณภาพ ตำแหน่งเงินเดือน และค่าตอบแทนที่จะได้รับ
.................3.6 การยกย่องและเชิดชูเกียรติ หรือรางวัลอื่น ๆ
.........4. หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน
................4.1 กำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะขอรับการประเมิน โดยปรับจากหลักเกณฑ์ ก.ค. เดิม ให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ กำหนดระดับคุณภาพของครู หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่น ๆ แต่ละประเภทพร้อมทั้งตัวชี้วัดระดับคุณภาพ โดยปรับปรุงจากระดับคุณภาพครู (NTQ) ระดับคุณภาพของผู้บริหารการศึกษา (EMQ) ที่ได้ศึกษาไว้แล้ว
................4.2 กำหนดวิธีการในการกำหนดตำแหน่ง และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ตามโครงสร้างใหม่
................4.3 กำหนดขั้นตอนของการขอรับการประเมินที่ชัดเจน เพื่อกระตุ้นให้ครูผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ได้มีโอกาสเข้ารับการประเมินอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
................4.4 กำหนดเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่น ตามระดับคุณภาพที่ได้รับการประเมิน ทั้งนี้ถ้าเป็นค่าตอบแทนอื่นที่ไม่ใช่เงินเดือน ควรมีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่จะส่งเสริมและกระตุ้นให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ควรมีคณะทำงานเพื่อดำเนินการจัดทำรายละเอียดของหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมิน
........จาก ข้อ 4.1 - 4.5 สำหรับในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายเกี่ยวกับเงินเดือนฯ พ.ร.บ. จัดตั้งกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นต้น เมื่อได้ข้อยุติหรือมีการประกาศใช้แล้วให้นำมาประกอบการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วย
........5. แนวทางการประเมิน จากหลักการ โครงสร้าง องค์ประกอบ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินที่ได้นำเสนอข้างต้น การประเมินยึดแนวทางของการประเมิน ดังนี้
................5.1 ควรนำหลักฐานหรือร่องรอยของการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และสภาพท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์เป็นส่วนสำคัญของการประเมิน
................5.2 ให้พิจารณาความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholder) เช่น นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา และเพื่อนร่วมทีมงาน เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพของผู้ที่ได้รับการประเมิน
................5.3 พิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน สำหรับผู้ปฏิบัติงานกับกลุ่มผู้เรียนที่มีความยากง่ายของการพัฒนา เช่น กลุ่มด้อยโอกาส เด็กเร่รอน เด็กพิการ ชาวเขา ชาวเล เป็นต้น รวมทั้งสภาพภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น
................5.4 คณะกรรมการประเมินที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญเฉพาะหรือมีประสบการณ์ในสาขาที่ประเมินนั้นอย่างน้อย 1 คน
................5.5 หลักฐานอื่น ๆ ที่ควรนำมาประกอบการพิจารณา เช่น 1) หลักฐานที่แสดงถึงการสร้างองค์ความรู้ที่เกิดจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตามระดับคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา 2) ความสามารถที่แสดงถึงการพัฒนา แบบพิมพ์เทียบมาตรฐาน หรือภาพฉาย (Template) ของรายวิชาตามหลักสูตร 3) หลักฐานของผลงานที่สาธารณชนทั่วไป ยอมรับว่าเกิดจากความสามารถของผู้ขอรับการประเมิน
................5.6 ผู้ขอประเมินต้องได้รับการพิจารณาหรือพิสูจน์แล้วว่าเป็นผู้ที่รักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ
................5.7 ในระยะยาวอาจปรับเปลี่ยนให้คณะกรรมการประเมิน เป็นหน่วยงานเอกชนที่ได้รับการรับรองให้เป็นผู้ประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดก็ได้
........6. เงื่อนไขความสำเร็จ จากข้อเสนอที่กล่าวมา จะสำเร็จได้ด้วยเงื่อนไขเบื้องต้น ต่อไปนี้
................6.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้มีการประกาศใช้แล้ว ตามเงื่อนไขของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
................6.2 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนทุกกลุ่ม
................6.3 คณะกรรมการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่คณะกรรมการครู และบุคลากรทางการศึกษาแต่งตั้งต้องได้รับการฝึกอบรมให้มีความเข้าใจในระบบ การประเมินฯ ใหม่อย่างเป็นระบบ รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบเกี่ยวกับการประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง
................6.4 จัดให้มีระบบการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับคณะกรรมการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ชัดเจน
................6.5 จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับระบบการประเมินแนวใหม่
................6.6 ควรกำหนดสิทธิพิเศษสำหรับการได้รับส่งเสริมสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และผลงานที่ได้รับการประเมินอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอระบบการประเมินครู และบุคลากรทางการศึกษานี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่จะกระตุ้นให้ทุกท่านได้มีข้อมูลเพื่อการวิพากษ์ และนำสู่ข้อเสนอที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาอย่างแท้จริง จึงขอเชิญชวนทุกท่านได้ร่วมกันสร้างพลังความคิดเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ต่อไป
ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, กรกฎาคม 2543

มารู้จักจังหวัดชายแดนภาคใต้กันเถิด

บทความที่ 5
........จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เป็นจังหวัดที่มีประชากรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีการศึกษาต่ำ แต่เป็นกลุ่มที่เคร่งครัดในศาสนาจึงนิยมส่งลูกหลานเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เพราะเป็นโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนทั้งวิชาสามัญและวิชาศาสนา และเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับจากชาวไทยมุสลิมอย่างมาก เพราะเป็นสถาบันที่ตอบสนองความต้องการด้านศาสนา สังคม วัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อมั่นของชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะวิชาศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจในการดำเนินชีวิตของมนุษย์(อับดุลรอมะ สามะอาลี 2550: 3)
........ดังนั้นจะเห็นได้ว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่างเป็นพื้นที่ที่มีประชากรส่วนใหญ่ นับถือศาสนาอิสลาม และมีความเคร่งครัดในการปฏิบัติศาสนกิจในชีวิตประจำวัน ยึดมั่นในหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม การศึกษาศาสนาเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่จะต้องศึกษาหาความรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติศาสนกิจและการยึดมั่นในหลักคำสอนดังกล่าว และถือเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ผู้ปกครองทุกคนที่ตะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้บุตรหลานมีโอกาสได้ศึกษาหาความรู้ทางด้านศาสนาตามความสามารถของแต่ละคน สถาบันหนึ่งที่มีความสำคัญและมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการจัดการเรียนการสอนด้านศาสนาแก่มุสลิม คือ “ปอเนาะ” หรือ “โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม” (อับดุลรอมะ สามะอาลี 2550: 3)

โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

บทความที่ 4
ความเป็นมาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
..........โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเป็นโรงเรียนเอกชนตามมาตรา 15 (1) และ 15 (2) แห่งพระราชบัญญัติโดรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเป็นที่รู้จักกันดีในนามว่า “ปอเนาะ” ซึ่งจัดตั้งอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ของจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล โดยสังกัดสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เขตการศึกษา 2 ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่นอกจากจะทำการสอนวิชาศาสนาแล้ว ยังได้สอดแทรกการสอนวิชาสามัญ และวิชาชีพในระดับและประเภทต่างๆ ไว้ในหลักสูตรด้วย สภาพการจัดการศึกษาในระบบปอเนาะ เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบทอดศาสนาเป็นหลัก การถ่ายทอดส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ของโต๊ะครู สภาพการสอนโดยทั่วไปจะเป็นลักษณะที่โต๊ะครูได้วางระบบการสอนด้วยตนเอง ระยะเวลาของการศึกษาอบรมในระบบปอเนาะไม่มีกำหนดที่แน่นอนว่าเมื่อใดที่จะสำเร็จการศึกษา เนื้อหาวิชาที่ใช้สอนเป็นวิชาศาสนาเพียงอย่างเดียว การเรียนการสอนใช้ภาษามลายู ไม่มีการสอนวิชาสามัญและภาษาไทย อาจกล่าวได้ว่าวงจรชีวิตปอเนาะ (ดั่งเดิม) นั้นมีพลวัตรอยู่ตลอดเวลา การเกิดขึ้นและล้มเลิกของปอเนาะมีอยู่ตลอดเวลารัฐจึงพิจารณาปรับปรุงปอเนาะโดยกำหนดให้มีการส่งเสริมและปรับปรุงปอเนาะเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2504 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ปอเนาะมาจดทะเบียน โดยความสมัครใจ เพื่อปรับปรุงให้ปอเนาะเป็นสถานศึกษาศาสนาที่มีสภาพดีขึ้น มีการสอดแทรกวิชาภาษาไทยและวิชาชีพ ต่อมาทางราชการได้วางเป้าหมายให้ปอเนาะมาอยู่ในความดูแลของทางราชการโดยมีแนวนโยบายให้มีการฟื้นฟูปอเนาะเป็นโรงเรียนราษฎร์ ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถานศึกษานี้อยู่ภายใต้การควบคุมของพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์เช่นเดียวกับโรงเรียนเอกชนทั่วไป และให้แปรสภาพเป็นโรงเรียนราษฎร์ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 3 – 5 ปี กระทรวงศึกษาธิการได้เร่งรัดดำเนินการโดยกำหนดให้ปอเนาะแปรสภาพเป็นโรงเรียนราษฎร์ประเภทพิเศษ ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม” (คณะกรรมการการศึกษาวิถีทางการพัฒนามนุษย์,2549 ; เรวดี กระโหมวงศ์และคณะ,2546 : 8 ; นิเลาะและคณะ, 2550 : 10)
.........การดำเนินงานปรับปรุงปอเนาะให้เป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามขิงทางราชการแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่งเป็นการดำเนินงานแปรสภาพปอเนาะให้เป็นโรงเรียนราษฎร์ เป้าหมายเพื่อให้มาอยู่ในความควบคุมของทางราชการตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์เป็นสำคัญ ระยะที่สองเป็นการเร่งรัดปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนรวมทั้งการบริหารโรงเรียน พร้อมทั้งให้การอุดหนุนทางด้านการเงิน การจัดส่งครูไปช่วยสอนวิชาสามัญ การให้อุปกรณ์การเรียนการสอน การนิเทศการศึกษา การปรับปรุงหลักสูตรแบบเรียนทั้งวิชาศาสนาและวิชาสามัญและอื่นๆ (เรวดี กระโหมวงศ์และคณะ,2546 : 8-9; นิเลาะและคณะ, 2550: 10)
..........หลังจากนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบการปรับปรุงส่งเสริมโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามหรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม (เปลี่ยนชื่อตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2525) ในปัจจุบันคือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่รับผิดชอบเป็นฝ่ายอำนวยการ มีศึกษาธิการอำเภอ ศึกษาธิการจังหวัดเป็นหน่วยปฏิบัติ แต่การดำเนินงานที่ผ่านมายังมีปัญหาอุปสรรคหลายประการที่ทำให้การดำเนินงานการปรับปรุงโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามไม่เป็นไปโดยรวดเร็ว มีปัญหาทั้งในด้านงบประมาณ ปัญหาเกี่ยวกับตัวบุคคล ซึ่งได้แก่ โต๊ะครู เจ้าหน้าที่นิเทศการศึกษาและครูสอนวิชาสามัญ ปัญหาเกี่ยวกับอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ แบบเรียน และหนังสืออ่านประกอบต่างๆ รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียน ซึ่งล้วนทำให้คุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประเภทนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2536)รัฐจึงจำเป็นต้องให้การสนับสนุนทั้งในด้านกำลังเงิน คน วัสดุอุปกรณ์ ในขณะเดียวกันนี้ ก็ส่งเสริมให้องค์กรเอกชนหรือมูลนิธิเข้าช่วยเหลือสนับสนุนกิจการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอีกทางหนึ่งเพื่อแบ่งเบาภาระของทางราชการ
...........ในส่วนของคณะกรรมการการศึกษาเอกชนนั้น ได้ให้ความสำคัญคุณภาพการศึกษา และปัญหาทางด้านวิชาการของโรงเรียนประเภทนี้ตลอดมา ดังจะเห็นได้จากการตั้งหน่วยศึกษานิเทศก์ ขึ้นในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ในปี พ.ศ. 2529 เพื่อให้ความช่วยเหลือโรงเรียน แต่ยังดำเนินการได้น้อยและไม่ทั่วถึง ผู้บริหารในฐานะผู้นำ และเป็นผู้บริหารของหน่วยงานจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการช่วยเหลือจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน และในการพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนเอกชน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าเชิงคุณภาพต้องอาศัยกระบวนการสำคัญ 3 กระบวนการ คือ กระบวนการบริหาร กระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการนิเทศ กระบวนการทั้ง 3 กระบวนการมีความสำคัญเท่าเทียมกัน และมีส่วนสนับสนุนเกื้อกูลกัน ผู้บริหารจะให้สำคัญหรือเน้นกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งไม่ได้ (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, 2534: 1; อ้างในนิเลาะและคณะ, 2550: 11)
...........ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ได้กำหนดให้ผู้บริหารเอกชนทุกประเภท ประกอบด้วย ผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ และครูใหญ่ ทำหน้าที่บริหารงานโรงเรียนเป็นไปตามระเบียบข้อกำหนดของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้รับใบอนุญาตหรือโต๊ะครูจะเป็นผู้บริหารสูงสุดของโรงเรียน มีผู้จัดการและครูใหญ่ เป็นผู้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนทั้งวิชาศาสนา วิชาสามัญ และวิชาชีพ หัวหน้าครูมีหน้าที่ช่วยงานด้านวิชาการและดูแลข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน ครูที่ทำหน้าที่สอนในโรงเรียนจะประกอบด้วยครูสอนวิชาศาสนา ครูสอนวิชาสามัญ ซึ่งเป็นครูที่โรงเรียนจ้างและครูที่เป็นข้าราชการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนส่งไปช่วยสอน
............ในอดีตการบริหารการศึกษาภายในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ได้แบ่งงานออกเป็น 5 งาน งานด้านวิชาการ งานบริหารบุคคล งานกิจการนักเรียน งานธุรการและการเงินและด้านความสัมพันธ์กับชุมชน การปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เหล่านี้ ปฏิบัติในระดับค่อนข้างน้อย รัฐบาลจึงได้พยายามปรับปรุงพัฒนา ส่งเสริมและให้การอุดหนุนทำให้โรงเรียนเอกชยสอนศาสนาอิสลามส่วนหนึ่งเจริญรุดหน้าไป แต่ยังมีโรงเรียนประเภทนี้อีกไม่น้อย ยังคงสภาพไม่เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่นผู้บริหารขาดความรู้ด้านการบริหารโรงเรียน ครูสอนมีคุณวุฒิต่ำ งบประมาณมีจำกัด (นิเลาะและคณะ,2550 : 12) แต่ในปัจจุบันนั้นการบริหารการศึกษาภายในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ได้กำหนดงานบริหารด้านการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษา พ.ศ. 2542 ซึ่งแบ่งไว้ใน 4 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป
..........ปี พ.ศ. 2533 ได้มีการประชุมร่วมกันของผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย สำนักจุฬาราชมนตรี ดาโต๊ะยุติธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดและโต๊ะครู เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงการศึกษาในปอเนาะ โดยนำเนินการจัดการจดทะเบียนการแปรสภาพเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม และเปลี่ยนแปลงเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นโรงเรียนตามมาตรา 15(2) แห่งพระราชบัญญัติเอกชน พ.ศ. 2525 ตามลำดับ พร้อมกับให้การอุดหนุนด้านการเงิน บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ มาโดยตลอด
..........ปี พ.ศ. 2535 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกระเบียบ เรียกว่าระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการอุดหนุนและส่งเสริมโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเปิดสอนวิชาศาสนาควบคู่กับวิชาสามัญ พ.ศ. 2535 เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาการการศึกษาให้ทันและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศโดยกำหนดคุณสมบัติของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มาตรา 15 (2) ที่มีความประสงค์จะปรับปรุงโรงเรียนเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มาตรา 15 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน.2536 : 31 – 37)
...........สำหรับการให้การอุดหนุนจากรัฐบาลแก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ตามมาตรา 15 (1) และมาตรา 15 (2) นั้น กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยการอุดหนุนและส่งเสริมโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเปิดสอนวิชาศาสนาควบคู่กับวิชาสามัญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2536 เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดสามารถสรุปได้ดังนี้
...........1. โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ตามมาตรา 15 (1) กรณีที่เป็นโรงเรียนเอกชนที่สอนศาสนาอิสลามแบบทั่วไป จะได้รับเงินอุดหนุน ร้อยละ 40 ของค่าใช้จ่ายจากค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนภาครัฐซึ่งกำหนดให้รับเป็นรายเดือน และกรณีที่เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่จัดตั้งโดยมูลนิธิหรือมัสยิดได้รับเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียน ร้อยละ 60
...........2. ปอเนาะแบบโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ตามมาตรา 15(2) ได้รับการอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียนตามประเภทของหลักสูตรการศึกษาโดยหักค่าธรรมเนียมการศึกษาที่โรงเรียนจัดเก็บจากนักเรียนทั้งปีออกดังนี้ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น 1,670 บาท ต่อหัวต่อปี หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย 1,720 บาท ต่อหัวต่อปี และหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน 1,660 บาท ต่อหัวต่อปี โดยแบ่งออกเป็นค่าตอบแทนโต๊ะครูร้อยละ 10 ของเงินที่ได้รับอุดหนุนทั้งหมด ค่าตอบแทนครูสอนศาสนาร้อยละ 40 และเป็นงบพัฒนาโรงเรียนร้อยละ 50
............หลังจากนั้น ปี 2539 กระทรวงศึกษาธิการได้ปรับเปลี่ยนการให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอีกครั้ง กรณีที่เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทั่วไปได้รับเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียน ร้อยละ 60 ส่วนกรณีที่เป็นมูลนิธิให้เงินอุดหนุนเต็มจำนวน (ร้อยละ 100) สำหรับอัตราการให้เงินอุดหนุนรายหัวแก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามล่าสุดในปี 2548 นั้น ในระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาในโรงเรียนที่เป็นมูลนิธิได้รับ 9,420 บาท/คน/ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้รับ 10,525 บาท/คน/ปี ในขณะที่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้รับ 11,425 บาท/คน/ปี ขณะที่ปอเนาะแบบโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ตามมาตรา 15 (2) ที่ได้เปิดสอนวิชาศาสนาควบคู่กับวิชาสามัญนั้นได้รับเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนจำนวน 685 บาท/คน/ปี สิ่งสำคัญที่ควรกล่าวถึง คือ เงินอุดหนุนที่รัฐบาลให้แก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้มิได้แตกต่างไปจากการอุดหนุนโรงเรียนเอกชนในพื้นที่หรือจังหวัดอื่นๆ ของประเทศไทย (นิเลาะและคณะ,2550 : 13)
...........ในส่วนของหลักสูตรที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในปัจจุบันทั้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ
............1. หลักสูตรวิชาสามัญคือหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 โดยแบ่งเป็นระดับประถมศึกษา ใช้เวลาเรียน6 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้เวลาเรียน 3 ปี และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาเรียน 3 ปี (กระทรวงศึกษาธิการ,2545 : 8)
.............2. หลักสูตรอิสลามศึกษา คือ หลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ. 2546 โดยแบ่งเป็นระดับอิสลามศึกษาตอนต้น ใช้เวลาเรียน 6 ปี ระดับอิสลามศึกษาตอนกลาง ใช้เวลาเรียน 3 ปี และระดับอิสลามศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาเรียน 3 ปี (กระทรวงศึกษาธิการ,2546 : 5 - 6)
..............โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเป็นสถาบันการศึกษาที่มีวิวัฒนาการจากปอเนาะ ซึ่งเป็นระบบการศึกษาแบบดั้งเดิม หรือแบบไม่เป็นทางการ ดำเนินการสอนโดยโต๊ะครู ต่อมาได้มีการแปรสภาพเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ก่อนที่จะเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมาจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าในด้านการบริหารและจัดการ หลักสูตร บุคลากร และการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้สามารถแข่งขันในบริบทแห่งยุคสมัยโลกาภิวัตน์ (นิเลาะและคณะ,2550 : 14)
............. กล่าวโดยสรุปแล้วโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเดิมเป็นที่รู้จักกันในนามว่า “ปอเนาะ” โดยสังกัดสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เขตการศึกษา 2 ซึ่งเป็นสถาบันที่จะทำการสอนวิชาการศาสนา และทำการสอนวิชาสามัญ และวิชาชีพไว้ในหลักสูตรด้วย

การประเมินหลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ. 2546

บทความที่ 3
การประเมินหลักสูตรอิสลามศึกษา

ความหมายของการประเมินหลักสูตร

บทความที่ 2
ความหมายของการประเมินหลักสูตร
........จากการศึกษาวิธีการประเมินหลักสูตรตามแนวคิดต่างๆของนักวิชาการบางท่านเกี่ยวกับความหมายของการประเมินหลักสูตรจะเห็นได้ว่าหลายท่านมีความเห็นที่แตกต่างกันไป กล่าวคือ
........การประเมินหลักสูตรหมายถึง การพิจารณา เปรียบเทียบ และตัดสิน เกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆในระบบหลักสูตร ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีความสอดคล้องระหว่างมาตรฐาน ความมุ่งหวัง และการปฏิบัติจริงเพียงใด หลักสูตรนั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด มีผลกระทบอย่างไร ทั้งนี้เพื่อจะนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ปรับปรุงหลักสูตรนั้นให้ดีขึ้น การพัฒนาหลักสูตรจะขาดการประเมินหลักสูตรไม่ได้เลย ( บุญชม ศรีสะอาด. 2546: 95)
........วิชัย วงษ์ใหญ่ (2521 : 149) กล่าวว่า การประเมินหลักสูตร หมายถึง การพิจารณาเกี่ยวกับคุณค่าของหลักสูตร โดยใช้ผลการวัดในแง่มุมต่างๆ ของสิ่งที่ประเมินเพื่อนำมาพิจารณาและสรุปว่าหลักสูตรที่พิจารณาขึ้นมานั้นมีคุณค่าอย่างไร บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ มีส่วนใดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม
........ วิชัย ประสิทธิ์วุฒเวชช์ (2542 : 106) กล่าวว่า การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล นำผลมาใช้ในการเปรียบเทียบระหว่างผลการใช้หลักสูตรที่วัดได้กับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเพื่อหาข้อบกพร่องหรือปัญหาและพิจารณาคุณค่าของหลักสูตร
........ รุจิร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม (2545 : 103) กล่าวว่า การประเมินหลักสูตรอาจให้ความหมายได้ดังนี้
........ - การวัดการปฏิบัติของผู้เรียนตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในเชิงปริมาณ
........ - การเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติของผู้เรียนกับมาตรฐาน
........ - การอธิบายและการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรและการเลือกการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับการตัดสินใจเรื่องหลักสูตร
........- การใช้ความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพในการตัดสินใจเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้
........ เสริมศรี ไชยศร (2526 : 235) กล่าวว่า การประเมินหลักสูตรเป็นการพิจารณา ตัดสิน ความคิด วิธีการ การวางแผน การออกแบบและการใช้หลักสูตรว่าเหมาะสมดีมากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้เปลี่ยนแปลงป ปรับปรุง หรือ แก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป
........จากความคิดเห็นดังกล่าวสรุปได้ว่า การประเมินหลักสูตร การพิจาณาเกี่ยวกับคุณค่าของหลักสูตรว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ มีส่วนใดที่ต้องปรับปรุงแก้ไข มีความสอดคล้องกับมาตรฐานและสิ่งที่มุ่งหวังหรือไม่อย่างไร

ยินดีต้อนรับเข้าสู่การประเมิน

บทความที่ 1
การประเมินหลักสูตร
........ในการจัดทำกิจกรรมใดก็ตาม เพื่อให้กิจกรรมนั้นบรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่วางไว้จะต้องมีการประเมินประกอบด้วย จะทำให้ทราบว่าข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุอะไรหรือปัจจัยใดและสามารถหาทางแก้ไขปัญหานั้นได้ต่อไป ในการประเมินหลักสูตรก็เช่นกัน หากมีการประเมินหลักสูตรเป็นระยะๆ ก็จะลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้
........การประเมินหลักสูตรเป็นกิจกรรมในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ที่มีความสำคัญมาก ช่วยให้การพัฒนาหลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ครบวงจรของการพัฒนาหลักสูตร
........การประเมินผลหลักสูตรเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรเพราะจะทำให้ทราบว่าหลักสูตรประสบผลสำเร็จเพียงใด มีอะไรที่จะต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือจะตัดสินใจอย่างไรต่อไป การประเมินหลักสูตรมี 3 ระยะหลัก ๆ คือ การประเมินหลักสูตรก่อนนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินระหว่างการใช้หลักสูตร การประเมินหลังการใช้หลักสูตร ถ้าต้องการได้ข้อมูลที่เป็นภาพรวมของการพัฒนาหลักสูตรทั้งหมดเมื่อใช้หลักสูตรครบรอบแล้ว ก็ควรประเมินทั้งระบบหลักสูตรการกำหนดหลักสูตรเพื่อใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันย่อมไม่สามารถจะตอบสนองกับสภาพปัญหาและความต้องการในแต่ละท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ แต่ละท้องถิ่นย่อมมีเอกลักษณ์และจุดเด่นที่ต้องนำมาพัฒนาให้เกิดเป็นองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อการสืบทอดต่อและเพื่อความตระหนักถึงความสำคัญและรักในถิ่นฐาน ประกอบกับข้อกำหนดใน พรบ. 2542 มาตรา 27 ทำให้สถานศึกษาต้องปรับปรุงหลักสูตรโดยจัดทำสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ เรียกว่า การจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น โดยดำเนินการได้หลายรูปแบบตามสภาพปัญหาและความต้องการเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้
........ดังนั้นการประเมินหลักสูตรจึงมีความสำคัญในการที่จะพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพเพราะจำทำให้ทราบว่าหลักสูตรประสบผลสำเร็จเพียงใด มีอะไรที่จะต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือจะตัดสินใจอย่างไรต่อไปและในการประเมินหลักสูตรถ้าต้องการได้ข้อมูลที่เป็นภาพรวมของการพัฒนาหลักสูตรทั้งหมดเมื่อใช้หลักสูตรครบรอบแล้ว ก็ควรประเมินทั้งระบบหลักสูตรการกำหนดหลักสูตรเพื่อใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันย่อมไม่สามารถจะตอบสนองกับสภาพปัญหาและความต้องการในแต่ละท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ แต่ละท้องถิ่นย่อมมีเอกลักษณ์และจุดเด่นที่ต้องนำมาพัฒนาให้เกิดเป็นองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อการสืบทอดต่อและเพื่อความตระหนักถึงความสำคัญและรักในถิ่นฐาน